ระเบียบข้อบังคับ

ระเบียบข้อบังคับสมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก

ชื่อและที่ตั้ง

ข้อ 1. สมาคมนี้ชื่อว่า “สมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก”
ข้อ 2. สำนักงานใหญ่ของสมาคมฯ ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนทวีธาภิเศก เลขที่ 505/5 ทวีธาภิเศก ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ข้อ 3. สมาคมฯ นี้ใช้เครื่องหมายและข้อความ ดังนี้ ใชเ้ครื่องหมายตราพระราชทานทวีธาภิเศก มีพื้นสีขาว ลายเส้นสีเขียว ดังรูป

มีอักษรว่า “สมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก” ซึ่งอยู่ภายใต้ตรา พระราชทาน
ข้อ 4. สมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก ดำเนินและพัฒนาระบบบริหารสมาคมฯ เป็นผู้ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิรูปการศึกษาและสังคมให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ โปร่งใส ทันต่อสถานการณ์ และ ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงาน เพื่อเสริมสร้างความศรัทธาต่อโรงเรียนทวีธาภิเศกในหมู่ผู้ปกครอง ครู นักเรียน และประชาชนทั่วไป
ข้อ 5. วัตถุประสงคข์องสมาคมฯ มีดังต่อไปนี้
          (1) เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ปกครองและครูอันจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมมาตรฐานการศึกษาศีลธรรม วัฒนธรรมและสวัสดิภาพของนักเรียน
          (2) เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างสมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก เพื่อประสานพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนงาน โครงการ กิจกรรมของโรงเรียนทวีธาภิเศก
          (3) ส่งเสริมและประสานกิจกรรมร่วมระหว่างครู ผู้ปกครองนักเรียนและศิษยเ์ก่าโดยเฉพาะกิจกรรม ด้านส่งเสริมคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม เพื่อสนับสนุนโรงเรียนในการเสริมสร้างนักเรียนให้เป็นผู้มีความรู้ ความประพฤติดีธำรงไว้ซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อบิดา มารดา ครู อาจารย์และผู้มีพระคุณ ให้มีสุขภาพแข็งแรงรวมทั้งให้ความร่วมมือกับรัฐบาล องค์กร สมาคมฯ บุคคล หรือคณะบุคคลเพื่อการนี้ด้วย
          (4) พัฒนาเสริมสร้างความเป็นเลิศในด้านการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาการรวมทั้งให้ความช่วยเหลือสวัสดิภาพและสวัสดิการแก่สมาชิกสมาคมฯ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของโรงเรียนและนักเรียนทวีธาภิเศก เป็นสำคัญ
          (5) เพื่อให้สมาคมฯ ได้ดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรงตามครรลองประชาธิปไตย ดังนั้น สมาคมฯ จะไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองไม่ขึ้นกับ นิกายศาสนาใด ไม่เป็นการค้า และไม่ดำเนินการสิ่งใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีงาม

ประเภทของสมาชิกและสภาพของสมาชิก

ข้อ 6. สมาชิกของสมาคมฯ มี 3 ประเภท คือ
          (1) สมาชิกกิตติมศักดิ์
          (2) สมาชิกสามัญ
          (3) สมาชิกวิสามัญ
ข้อ 7. สมาชิกกิตติมศักดิ์ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิมีเกียรติคุณหรือเป็นผู้อุปการคุณแก่สมาคมฯ หรือโรงเรียนทวีธาภิเศก ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ในนามของสมาคมฯ เมื่อผู้รับเชิญตอบรับเป็นลายลักษณ์อักษร จึงให้ถือว่าผู้รับเชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
ข้อ 8. สมาชิกสามัญ ได้แก่ผู้ที่บรรลุนิติภาวะ โดยไม่จำกัดเพศ ชาติศาสนา แต่ต้องไม่เป็นผู้ที่ตกอยู่ในฐานะของความสิ้นสุดจากสมาชิกภาพตามข้อ 15(1) (4) หรือ (5)และต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
          (1) บิดามารดาของผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นนักเรียน
          (2) ผู้ปกครองหรือเคยเป็นผู้ปกครองของนักเรียนทวีธาภิเศก
ข้อ 9. สมาชิกวิสามัญ ได้แก่
          (1) ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็น ผู้บริหาร ครู ของโรงเรียนทวีธาภิเศก
          (2) ศิษยเ์ก่าโรงเรียนทวีธาภิเศก
ข้อ 10. การสมัครเข้าเป็นสมาชิก ผู้ประสงค์สมัครเป็นสมาชิกต้องยื่นใบสมัครต่อนายทะเบียนตามแบบฟอร์มของสมาคมฯ โดยมีสมาชิก หรือกรรมการสมาคมฯ ลงนามรับรอง ให้นายทะเบียนนำรายชื่อผู้สมัครเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของสมาคมฯ พิจารณา เมื่อคณะกรรมการฯ มีมติให้รับเป็นสมาชิกแล้ว ให้นายทะเบียนปิดประกาศรายชื่อผู้สมัครนั้นไว้ที่สำนักงานโดยเปิดเผย ไม่น้อยกว่า 7 วัน ณ สมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก

ค่าบำรุง

ข้อ 11. สมาชิกกิตติมศักดิ์และสมาชิกวิสามัญข้อ 9(1) ไม่ต้องเสียค่าบำรุง ส่วนสมาชิกวิสามัญ ข้อ 9(2) ต้องชำระค่าบำรุงสมาคมฯ เพียงคร้ังเดียว 1,000 บาท
ข้อ 12. สมาชิกสามัญต้องชำระค่าบำรุงสมาคมฯ ภาคเรียนละ 200 บาท

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

ข้อ 13. สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ดังนี้
          (1) มีสิทธิสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฯ
          (2) เสนอรายชื่อสมาชิกที่จะเข้ารับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฯ โดยสมาชิกหนึ่งคน เสนอรายชื่อผู้เข้ารับเลือกตั้งได้ 1 คน และมีสิทธิ์ออกเสียงได้ 1 เสียง
          (3) สามารถได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารสมาคมฯ
          (4) เข้าร่วมประชุม อภิปราย เสนอความคิดเห็น และสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมของสมาคมฯ ความก้าวหน้าด้านการศึกษาและความเป็นอยู่ของนักเรียนโรงเรียนทวีธาภิเศกในที่ประชุมใหญ่
          (5) ร้องขอต่อคณะกรรมการบริหาร เพื่อตรวจทะเบียนเอกสารบัญชี หรือทรัพย์สินของสมาคมฯ ได้โดยมีสมาชิกร่วมลงชื่อตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป
          (6) เรียกประชุมวิสามัญ ด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือเข้าชื่อร่วมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน โดยทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เพื่อให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ ทั้งนี้หนังสือร้องขอเรียกประชุมต้องระบุวาระที่ประสงค์จะเรียกประชุม พร้อมลงลายมือชื่อสมาชิกไว้ในหนังสือนั้น และต้องไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ
          (7) ปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมฯ
          (8) มีสิทธิได้รับการสนับสนุนความช่วยเหลือจากสมาคมฯ อาทิ ทุนการศึกษาของบุตร
          (9) ประดับเครื่องหมายของสมาคมฯ ในโอกาสอันควร
          (10) ช่วยเหลือและส่งเสริมกิจการของสมาคมฯ
ข้อ 14. สิทธิของสมาชิกในที่ประชุมใหญ่
          (1) เข้าร่วมประชุมและอภิปรายตามข้อความ
          (2) ปรากฏอยู่ในระเบียบวาระการประชุม
          (3) ให้ข้อคิดเห็นหรือซักถามในข้อความที่ปรากฏอยู่ในระเบียบวาระของการประชุม
          (4) ถูกเสนอชื่อเพื่อรับเลือกต้งัเป็นนายกสมาคมฯ
          (5) เสนอสมาชิกอื่นให้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฯ 1 คน
          (6) เสนอญัตติเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการบริหารให้นำเข้าระเบียบวาระ เพื่อพิจารณาในที่ประชุมใหญ่โดยสมาชิกลงชื่อรับรองไวใ้นญัตตินั้นด้วยไม่นอ้ยกว่า 10 คน
          (7) ออกเสียงลงมติและเสนอให้ลงมติ 1 เสียง
          (8) ขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยมีสมาชิกอื่นรับรองไม่น้อยกว่า 10 คน
          (9) พิจารณารับรองงบการเงินของสมาคมฯ
          (10) พิจารณาเลือกต้งัผูต้รวจสอบบัญชี

การสิ้นสุดจากสมาชิก

ข้อ 15. การสิ้นสุดของสมาชิกภาพ สมาชิกจะพ้นสภาพเมื่อ
         (1) ตาย
         (2) ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษร
         (3) สมาคมฯ ถูกยุบ หรือเลิกสมาคมฯ
         (4) ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถหรือล้มละลาย
         (5) ฝ่าฝืนนข้อบังคับสมาคมฯ หรือประพฤติตนเสื่อมเสียแก่สมาคมฯ
         (6) คณะกรรมการลงมติด้วยจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการที่มาประชุมให้พ้นจาก สมาชิกภาพ
         (7) ไม่เข้าร่วมประชุมสามัญหรือวิสามัญติดต่อกันเกินกว่า 2 คร้ังขึ้นไป ยกเว้นสมาชิกวิสามัญ ข้อ 9(1) หรือค้างชำระค่าบำรุงรายปี
         (8) สมาชิกที่คณะกรรมการบริหารเชิญเป็นสมาชิกจะพ้นวาระตามคณะกรรมการชุดที่แต่งตั้ง ทั้งนี้หากสมาชิกวิสามัญ ข้อ 9(2) ไม่เข้าร่วมประชุมสามัญ หรือวิสามัญติดต่อกันเกินกว่า 2 คร้ังขึ้นไป ให้พ้นสมาชิกภาพไป แต่สามารถกลับเข้ามาสมัครโดยชำระค่าบำรุงใหม่ได้ อนึ่ง สมาชิกที่สิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพนั้น ๆ จะยกเอาเหตุแห่งการนั้นมาอ้าง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากสมาคมฯ หรือจากกรรมการบริหารแต่ประการใดมิได้

คณะกรรมการบริหาร

ข้อ 16. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งที่เรียกว่า     “คณะกรรมการบริหาร”     จำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน  และไม่เกิน 21 คน    ทำหน้าที่บริหารงานของสมาคมฯ กรรมการคณะนี้ประกอบด้วย  นายกสมาคมฯ ที่ที่ประชุมเลอืกตั้งและให้นายกสมาคมฯ แต่งตั้งสมาชิกให้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้เลขานุการเหรัญญิก นายทะเบียน สาราณียกรและ ปฏิคม ทั้งนี้ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศกเป็นอุปนายกโดยตำแหน่ง ส่วนสมาชิกอื่นให้เป็นกรรมการกลาง   นายกสมาคมฯ จะแต่งตั้งที่ปรึกษาผู้ช่วยกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่อื่นใดเพื่อให้รับผิดชอบกิจการงานตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งตามนายกสมาคมฯ
ข้อ 17. ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งนายกสมาคมฯ จากสมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญ โดยวิธีให้สมาชิกสามัญ และสมาชิกวิสามัญเสนอชื่อสมาชิกกันเองที่อยู่ในที่ประชุมเข้ารับการเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฯ ในการเสนอชื่อผูเ้ข้ารับการเลือกตั้งแต่ละคนจะต้องให้มีสมาชิกอื่นรับรองการเสนอชื่อไม่น้อยกว่า 10 คน จึงจะมีสิทธิเสนอชื่อผู้เข้ารับการเลือกตั้ง แต่ถ้ามีผูเ้สนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้งเกินกว่า 1 คน ก็ให้สมาชิกที่เข้าประชุมใหญ่ ออกเสียงลงคะแนน ถ้าได้รับคะแนนเท่ากันก็ให้ใช้วิธีการจับฉลาก เฉพาะผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเพื่อให้ได้เพียง 1 คน เป็นนายกสมาคมฯ ตามข้อ 16
ข้อ 18. คณะกรรมการบริหารดังกล่าวในข้อ 16 นั้น ให้นายกและอุปนายกสมาคมฯ พิจารณาแต่งตั้งสมาชิกของสมาคมฯ เป็นกรรมการบริหารจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน และจำนวนไม่เกิน 21 คน โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นครูปัจจุบันของโรงเรียนทวีธาภิเศก จำนวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหาร ซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดยอุปนายกโดยตำ แหน่ง ทั้งนี้
         (1) กรรมการบริหาร จะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อนายกสมาคมฯ พ้นจากตำแหน่ง
         (2) ในกรณีครูปัจจุบันของโรงเรียนทวีธาภิเศกพ้นจากตำแหน่ง ให้นายกสมาคมฯ แต่งตั้งครูปัจจุบันทำหน้าที่แทนครูที่พ้นจากตำแหน่งโดยการเสนอชื่อโดยอุปนายกโดยตำแหน่ง
ข้อ 19. ให้คณะกรรมการบริหารตามกำหนดไว้ในข้อ 16   อยู่ในตำแหน่งคราวละ  2  ปี   และคณะกรรมการบริหารประชุมคร้ังแรกภายใน 15  วัน    นับแต่วันซึ่งที่ประชุมใหญ่ได้มีมติเลือกนายกสมาคมฯ
ข้อ 20. นายกสมาคมฯ ที่พ้นจากตำแหน่ง ให้คงมีหน้าที่ในการบริหารงานของสมาคมฯ ในกรณีปกติต่อไป ยกเว้น การบริหารเงินและอนุมัติเงินของโครงการใหม่ จนกว่าคณะกรรมการบริหารคณะใหม่เข้ารับมอบหมายงานแล้วการรับมอบงานจะต้องกระทำให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเลือกตั้ง
ข้อ 21. กรรมการบริหารทุกตำแหน่งไม่มีเงินเดือน หรือค่าตอบแทนใด ๆ จากสมาคมฯ

ที่ปรึกษาและผู้ช่วยกรรมการ

ข้อ 22. คณะกรรมการบริหารมีสิทธิเชิญสมาชิกเป็นที่ปรึกษาได้ไม่เกิน  15 คน  คณะกรรมการบริหารที่รับผิดชอบงานแต่ละหน้าที่นั้น  มีสิทธิเสนอต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อขออนุมัติแต่งตั้งสมาชิกเป็นผู้ช่วยกรรมการ   เพื่อช่วยเหลือให้กิจกรรมที่ตนได้รับมอบหมายนั้น ได้ไม่เกินหน้าที่ละ  5  คน  เมื่อคณะกรรมการบริหารอนุมัติแล้ว    ก็ให้เป็นผู้ช่วยกรรมการได้ตั้งแต่นายกสมาคมฯ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารมีสิทธิตั้งสมาชิกเป็นอนุกรรมการ คณะทำงานและหรือบุคคลให้ปฏิบัติกิจการหรือดำเนินการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ ได้ตามที่เห็นสมควร
         ที่ปรึกษาและผู้ช่วยกรรมการมีวาระเท่ากับคณะกรรมการบริหาร หรือในกรณีที่แต่งตั้งผู้ช่วยกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ดำเนินกิจกรรมกิจกรรมใดโดยเฉพาะ เมื่อหมดหน้าที่ก็ให้สิ้นสุดไปตามกิจกรรมนั้น

การแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง

ข้อ 23. ถ้ากรรมการตำแหน่งใดว่างลงก่อนครบวาระให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารปฏิบัติดังต่อไปนี้
         (1) สำหรับนายกสมาคมฯ ให้ตั้งจากอุปนายกตามลำดับ
         (2) ถ้าจำนวนกรรมการบริหารเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้นายกสมาคมฯ แต่งตั้งสมาชิกที่เห็นว่าเหมาะสมดำรงตำแหน่ง
ข้อ 24. กรรมการไม่ว่าในตำแหน่งหน้าที่ใดที่เข้าดำรงตำแหน่งแทน ให้มีอายุอยู่ได้เพียงเท่าอายุของผู้ที่ตนแทน

หน้าที่กรรมการ

ข้อ 25. คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
         (1) จัดทำแผนงานและบริหารกิจการของสมาคมฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับ
         (2) รักษาและปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมฯ
         (3) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานลูกจ้างเพื่อกิจการของสมาคม ฯ
         (4) กำหนดข้อบังคับในการปฏิบัติงานตามที่เห็นสมควร
         (5) รับผิดชอบในกิจการของสมาคมฯ จัดทำงบการเงินและบัญชีทรัพย์สิน พัสดุ ครุภัณฑ์ของสมาคมฯ
         (6) ปฏิบัติงานตามมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือที่ประชุม ใหญ่วิสามัญและมติของคณะกรรมการบริหาร

กรรมการแต่ละหน้าที่มีหน้าที่ดังนี้

นายกสมาคมฯ
       1. บริหารกิจการของสมาคมฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ นโยบาย และข้อบังคับของสมาคมฯ
       2. เป็นผู้แทนสมาคมฯ ในกิจการต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
       3. เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร และเป็นประธานที่ประชุมใหญ่
       4. เป็นผู้รักษาระเบียบการประชุมให้เป็นตามข้อบังคับของสมาคมฯ
       5. ควบคุมและสั่งจ่ายเงินตามข้อบังคับ
อุปนายกสมาคมฯ โดยลำดับ
       1. รักษาการแทนนายกสมาคมฯ ในกรณีที่นายกสมาคมฯ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
       2. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายกสมาคมฯ มอบหมาย
เลขานุการ
       1. จัดทำระเบียบวาระการประชุม และดำเนินงานเกี่ยวกับการประชุม
       2. ปฏิบัติงานสารบรรณ และเก็บรักษาเอกสารอื่น ๆ
       3. มีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมฯ ตามข้อบังคับ ข้อ 35
       4. ดำเนินกิจการของสมาคมฯ โดยทั่วไป
เหรัญญิก
       1. เก็บรักษาและเบิกจ่ายเงินของสมาคมฯ ภายใต้ระเบียบและที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ข้อ 34 และ ข้อ 35
       2. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน และบัญชีของสมาคมฯ โดยทั่วไป
นายทะเบียน
       1. จัดทำและรักษาทะเบียนประวัติของสมาชิก
       2. แก้ไขปรับปรุงทะเบียนของสมาชิก ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
       3. รับผิดชอบการลงทะเบียนในการประชุมใหญ่
ปฏิคม
       1. ดูแลรักษาสถานที่เก็บรักษาและเบิกจ่ายพัสดุ ทำบัญชีเกี่ยวกับพัสดุ
       2. ต้อนรับให้ความสะดวกแก่สมาชิกและผู้ที่มาติดต่อสมาคมฯ
สาราณียกร
       จัดทำประวัติของสมาคมฯ และเผยแพร่วารสารจัดหาหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ และโสตทัศนวัสดุที่ส่งเสริม การจัดการศึกษาของโรงเรียนทวีธาภิเศก ตลอดจนเผยแพร่กิจกรรมทั่วไป
ข้อ 26. ที่ปรึกษาสมาคมฯ
     (1) ให้การปรึกษาแก่คณะกรรมการบริหารและช่วยกิจการทั่วไป เข้าร่วมประชุมในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและที่ประชุมใหญ่
ข้อ 27 ผู้ช่วยกรรมการ
     (1) ช่วยเหลือกรรมการบริหารตามที่ได้รับมอบหมาย
     (2) เข้าร่วมประชุมในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและที่ประชุมใหญ่
ข้อ 28. กรณีอนุกรรมการและหรือคณะทำงานนั้น ให้นำองค์ประชุมของคณะกรรมการบริหารและสิทธิของคณะกรรมการบริหารกับของประธานตามข้อ 30 มาใช้บังคับด้วยอนุโลมในการตั้งอนุกรรมการ คณะทำงานและหรือบุคคล ดังกล่าวในวรรคแรกนั้น หากจะต้องมีการจ่ายเงิน หรือสิ่งอื่นใดของสมาคมฯ ให้เป็นการตอบแทน มติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารในการใช้จ่ายเงินคร้ังนี้ นั้นต้องเป็นเอกฉันท์จึงให้จ่ายได้

การประชุมและองค์ประชุมของคณะกรรมการบริหาร

ข้อ 29. ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารเพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ ปกติอย่างน้อย 3 เดือนต่อคร้ัง โดยให้นายกสมาคมฯ เป็นผู้กำหนดวันเวลาในการประชุม และให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งให้กรรมการบริหารทราบวัน เวลาและสถานที่พร้อมทั้งแจ้งระเบียบวาระล่วงหน้าไม่นอ้ยกว่า 3 วัน
ข้อ 30. การประชุมของคณะกรรมการบริหารต้องมีกรรมการบริหารเข้าร่วมประชุม เกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการบริหารทั้งหมด จึงจะถือว่าเป็นองค์ประชุมเพื่อบริหารกิจการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ กรรมการบริหารมีสิทธิ์ ออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมได้คนละ 1 เสียง ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงได้อีก 1 เสียงเป็นเสียงชี้ขาด

การประชุมและองค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่

ข้อ 31. โดยปกติให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ภายในเดือนสิงหาคม ยกเว้น มีเหตุจำเป็น เพื่อปรึกษากิจการของสมาคมฯ ดังนี้
     (1) รายงานของคณะกรรมการบริหารเกี่ยวกับกิจกรรมในปี ที่ล่วงมาแล้ว
     (2) งบการเงินประจำปี
     (3) เลือกตั้งนายกสมาคมฯ เมื่อถึงกำหนดตามวาระที่กล่าวไว้ในข้อ 17
     (4) เลือกตั้งผู้สอบบัญชีประจำ และกิจการอื่น ๆ
     การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ ให้เลขานุการ เป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบเป็นหนงัสือ โดยระบุวัน เวลา และสถานที่ประชุม พร้อมระเบียบวาระการประชุมทั้งส่งรายละเอียดเอกสารตามควรส่งถึงสมาชิกก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เผยแพร่หลายอย่างน้อยสองคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน ทั้งนี้การเรียกประชุมใหญ่โดยการพิมพ์โฆษณา ต้องมีการจัดทำระเบียบวาระการประชุมพร้อมรายละเอียดประกอบเอกสาร พร้อมที่จะมอบให้แก่สมาชิก ณ สถานที่ประชุม นอกจากการประชุมใหญ่สามัญดังกล่าว คณะกรรมการบริหารอาจจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญได้โดย
     ก. มีมติของคณะกรรมการบริหาร ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ
     ข. สมาชิกร้องขอตามข้อ 13 (6)
     การประชุมใหญ่วิสามัญนั้น ต้องมีขึ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการบริหารได้มีมติหรือถ้าคณะกรรมการได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญตามข้อ 13(6) ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ และให้เลขานุการดำเนินการแจ้งการประชุมตามระเบียบและวิธีการดังกล่าวข้างต้น
     ในกรณีที่คณะกรรมการของสมาคมฯ ไม่เรียกประชุมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ สมาชิกผู้ร้องขอให้เรียกประชุมหรือสมาชิกคนอื่น ๆ รวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ 13(6) จะเรียกประชุมเองก็ได้
     อนี่งการประชุมใหญ่สามัญประจำปี การประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี หรือการประชุมคณะกรรมการบริหารคร้ังใดๆ จะจัดให้มีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้
ข้อ 32. ในการประชุมใหญ่สามัญ หรือวิสามัญ ทุกคร้ังจะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า  1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ตามที่ปรากฏในทะเบียนของสมาคมฯ หรือไม่น้อยกว่า 100 คน จึงจะถือเป็นองค์ประชุมใหญ่ เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ ได้และให้ถือเสียงข้างมากในที่ประชุม ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 33. ในการประชุมใหญ่คร้ังใด หากถึงกำหนดเวลาการประชุมแล้วสมาชิกยังไม่ครบองค์ประชุม ถ้าการประชุมใหญ่คร้ังน้นั้น เป็นการประชุมใหญ่ตามคำร้องขอของสมาชิกก็ให้งดการประชุม แต่ถ้าเป็นกรณีการประชุมใหญ่ที่คณะกรรมการบริหาร เป็นผูเ้รียกประชุม ก็ให้เรียกประชุมใหญ่อีกคร้ังหนึ่งโดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน 14 วันนับแต่วันที่นัดประชุมคร้ังแรกและการประชุมคร้ังหลังนี้ไม่บังคับว่าต้องครบองค์ประชุม

การเงินของสมาคมฯ

ข้อ 34. เงินของสมาคมฯ ให้ฝากไว้ที่ธนาคาร เหรัญญิกสามารถเก็บรักษาเงินสดของสมาคมฯ ในกรณีดังกล่าวต้องไม่เกิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถว้น) หากเกินจากนี้ต้องนำ ฝากธนาคาร
     การสั่งจ่ายเงินจากธนาคารต้องมีลายมือชื่อนายกสมาคมฯ ฝ่ายหนึ่งและอุปนายกหรือเหรัญญิกอีกฝ่ายหนึ่ง ร่วมเป็นสองฝ่ายลงลายมือชื่อจึงจะใช้ได้
ข้อ 35. นายกสมาคมฯ มีอำนาจสั่งจ่ายเงินเพื่อกิจการของสมาคมฯ ตามวัตถุประสงค์ ได้คราวละไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) หรือเดือนหนึ่งจ่ายไม่เกิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) เลขานุการมีอำนาจสั่งจ่ายเงินเพื่อกิจการของสมาคมฯ ตามวัตถุประสงค์ ได้คราวละไม่เกิน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) หรือเดือนหนึ่งจ่ายไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
     ทั้งนายกสมาคมฯ และเลขานุการ ถ้าสั่งจ่ายเกินกว่าที่กำหนดไว้ต้องจ่ายโดยมติของคณะกรรมการบริหารก่อน
ข้อ 36. ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี สำหรับตรวจสอบบัญชีแต่ละปี และให้คณะกรรมการบริหารรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ตรวจสอบบัญชีตลอดจนหลักฐานเกี่ยวกับการเงินและเงินสดเพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบนั้นด้วย
     การตรวจสอบบัญชีนั้นให้ผูต้รวจสอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรองเพื่อเสนอในที่ประชุมใหญ่ในปี ต่อไปด้วย

การแก้ข้อบังคับและการเลิกสมาคมฯ

ข้อ 37. การแก้ข้อบังคับของสมาคมฯ จะทำได้เฉพาะแต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ด้วยเสียงข้างมากไม่น้อยกว่า 2 ใน 3ของสมาชิกที่มาประชุมและการเสนอขอแกไ้ขขอ้ บงัคบั น้นั ให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการบริหารเพื่อจัดทำระเบียบวาระก่อน
ข้อ38. เมื่อที่ประชุมใหญ่มีความเห็นให้เลิกสมาคมฯ โดยเสียงที่ให้เลิกไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดในที่ประชุมนั้น
ข้อ39. เมื่อสมาคมฯ ต้องเลิก  ไม่ว่าโดยมติของที่ประชุมใหญ่  หรือจะโดยประการอื่นก็ตาม ให้ทรัพย์สินของสมาคมฯ  ที่เหลืออยู่หลังจากชำระบัญชีแล้ว  เป็นของโรงเรียนทวีธาภิเศก   เพื่อประโยชน์ของโรงเรียนทวีธาภิเศก ทั้งสิ้น
ข้อ 40. ระเบียบของสมาคมฯ ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับฉบับนี้

บทเฉพาะกาล

ข้อ41. ค่าบำรุง ตามข้อ 12 เริ่มใช้บังคับ ในปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป